ในปัจจุบัน องค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกต่างหันมาสนใจเกี่ยวกับทรัพยากรภายในของตัวเองมากขึ้น โดยเฉพาะทรัพยากรที่ขึ้นชื่อว่า มนุษย์
การหาความต้องการ และเฟ้นหาความรู้ความสามารถของคนภายในองค์กรนั้นเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจากในอดีต จากเดิมที่เน้นให้พนักงานทำเพื่อองค์กร มาเป็นองค์กรเริ่มสร้างอะไรบางอย่างเพื่อพนักงานมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะสามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีกว่าได้ ยกตัวอย่างการทำงานในอดีตแบบ 9 โมงเช้าถึง 6 โมงเย็น ก็ถือว่าล้าสมัยไปแล้วในปัจจุบัน
องค์กรหลาย ๆ องค์กรจึงเริ่มมองหากลยุทธ์ท่ามกลางปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรคน หรือพนักงานที่มีควาสามารถ โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีธุรกิจต่างเริ่มนำรูปแบบการทำงานแบบใหม่ ๆ เข้ามาช่วยกับกลุ่มพนักงานของตัวเองมากขึ้น รวมไปถึงการใช้รูปแบบสำนักงานใหม่ ๆ มาใช้ร่วมด้วย
คาดการณ์กันว่าในปัจจุบันประชากรเกินกว่าครึ่งในองค์กรเป็นคนในยุคเจเนอเรชั่นวาย ซึ่งคนรุ่นนี้มีความคิดการทำงานที่เริ่มแตกต่างจากคนรุ่นก่อน ๆ อย่างเห็นได้ชัด การออกแบบพื้นที่การทำงานจึงต้องคำนึงถึงคนกลุ่มนี้ให้มากขึ้น ใช้แนวคิดการออกแบบที่คำนึงถึงอารมณ์ ควบคู่กับประโยชน์ใช้สอยของพื้นที่ไปด้วย

ขณะเดียวกันจะเห็นได้ว่าปัจจุบันองค์กรหลายแห่งเริ่มจะให้ความสำคัญกับการออกแบบพื้นที่ทำงานให้เป็นพื้นที่ส่วนกลางมากขึ้น และลดขนาดของพื้นที่ส่วนตัวของพนักงานหรือแม้แต่ผู้บริหารระดับสูงให้น้อยลง มีโต๊ะทำงานเล็กลง เพื่อกระตุ้นให้พนักงานหันมาใช้พื้นที่ส่วนกลาง ถือเป็นการสร้างโอกาสในการพบปะพูดคุย และแลกเปลี่ยนความคิด
คำถามคือ เราจะสามารถออกแบบสถานที่ทำงานให้ตรงกับความต้องการของพนักงานได้อย่างไร เมื่อมองในสภาพแวดล้อม หรือสังคมขององค์กรต่าง ๆ ในปัจจุบัน ซึ่งเราสามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 3 อย่างเกิดขึ้น
1. เป็นครั้งแรกที่ภายในองค์กรต่าง ๆ โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่จะมีช่วงอายุคนทำงานถึงสี่ชั่วอายุคนทำงานด้วยกัน ทำให้ต้องคำนึงถึงวิธีคิดและการกระทำที่แตกต่างกันของช่วงอายุ เพื่อนำมาออกแบบสภาพแวดล้อมการทำงาน
2. ความเท่าเทียมกันระหว่างผู้หญิงกับผู้ชายในปัจจุบันเป็นที่พูดถึงมากขึ้น การออกแบบโดยคำนึงถึงสถานะจากมุมมอมใดมุมองหนึ่งต้องเกิดความเท่าเทียม หรือไม่เอาเปรียบอีกฝ่ายมากเกินไป เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เข้าได้กับทุกเพศ
3. พนักงานหลายคนมีบุคลิก และวิธีทำงานที่แตกต่างกัน การออกแบบพื้นที่จากความแตกต่างที่หลากหลายนี้จึงสำคัญ ยกตัวอย่างระหว่างคนเก็บตัวกับคนบุคคลิกเปิดเผยก็ต่างต้องการพื้นที่การทำงานที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นการออกแบบพื้นที่ทำงานจึงต้องให้ความสำคัญ
การเปลี่ยนแปลงทั้งสามอย่างนี้ ทำให้เกิดการขับเคลื่อนความต้องการในการออกแบบพื้นที่การทำงาน ที่สามารถรองรับความแตกต่าง ความหลากหลายไปทั่วโลกจนกลายเป็นเทรนด์สมัยใหม่ขึ้นมา

การทำงานในสถานที่ทำงานที่เรียบง่าย และดีที่สุดสำหรับคนในองค์กรคือการมีตัวเลือกให้พนักงานสำหรับการทำกิจกรรมที่หลากหลาย พวกเขาสามารถเลือกอยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสมในการทำงานได้ พนักงานต้องไม่ถูกกำหนดแค่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง แต่สามารถใช้ความหลากหลายของพื้นที่ในองค์กรทำงาน โดยเฉพาะเป็นการเพิ่มการเรียนรู้จากการทำงานร่วมกันและการเข้าสังคม
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า พนักงานส่วนใหญ่ขององค์กรที่ใช้พื้นที่การทำงานซ้ำ ๆ ไม่ค่อยเปลี่ยนสถานที่จะสร้างประสิทธิภาพการทำงานได้น้อยลง ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อความพึงพอใจของพนักงาน ในทางตรงกันข้ามพนักงานที่สามารถเลือกทำงานนอกพื้นที่โต๊ะของตัวเอง มีอัตราความพึงพอใจเพิ่มถึง 20 เปอร์เซนต์
แต่ความท้าทายในการออกแบบพื้นที่ทำงานในองค์กรที่แท้จริงคือ การจัดสัดส่วนพื้นที่ที่เหมาะสมให้พนักงานไม่รู้สึกขัดแย้ง และยังสร้างประสิทธิภาพต่อการทำงานให้องค์กรได้

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แนวคิดการทำงานแบบ The Activity Based Workplace (ABW) Solution ได้เกิดขึ้น โดยเป็นการคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของพนักงานเป็นอันดับแรก แนวคิดของ ABW คือการให้อิสระในการเลือกพื้นที่ของพนักงาน เพื่อทำให้พวกเขาสามารถทำงานร่วมกันได้มากขึ้น
ABW เป็นแนวคิดที่ถูกออกแบบให้ตระหนักถึงบทบาทของพนักงานที่แตกต่าง แต่ยังสนับสนุนความต้องการที่หลากหลายในการทำงาน โซลูชันของพื้นที่การทำงานให้เหมาะสมกับการทำงานของพนักงานจึงสำคัญเป็นอย่างมาก ลองมาดูกันว่า ABW โซลูชันที่ออกแบบมาเพื่อสนับสนุนพฤติกรรมการทำงานในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
Socializing & Rejuvenating
มีพื้นที่สร้างความรู้สึกการทำงานกับบ้านไว้ในพื้นที่เดียวกัน สภาพแวดล้อมที่ให้ความสะดวกสบาย ผ่อนคลาย และเอื้ออำนวยต่อการคิดนอกกรอบ หรือสร้างไอเดียใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาได้
Collaboration
พื้นที่ที่ช่วยให้การทำงานเป็นทีมสามารถทำได้ง่ายขึ้น สร้างการทำงานร่วมกันแบบไดนามิก เป็นพื้นที่ที่สร้างความร่วมมือของคนในองค์กร ทำให้เกิดความคิดใหม่ ๆ
Solo Work
พื้นที่สำหรับการเก็บตัวของพนักงานที่ต้องการพื้นที่ทำงานที่เป็นส่วนตัว มีช่องว่างที่ช่วยให้หลีกเลี่ยงผู้คนในองค์กร ช่วยให้สามารถมีสมาธิในการทำงานได้ดีมากขึ้น
Learning
ความอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เป็นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน ภายในองค์กรจึงจำเป็นต้องมีพื้นที่ยกระดับการเรียนรู้สำหรับพนักงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และความสามารถของพนักงานเองด้วย
ซึ่งประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับจากแนวคิดการออกแบบ The Activity Based Workplace (ABW) Solution สามารถสรุปออกได้ออกมาเป็น 5 ข้อ ได้แก่
1. เพิ่มการทำงานร่วมกันและสร้างประสิทธิภาพในหมู่พนักงาน
2. เพิ่มการเอาใจใส่กับการทำงานของพนักงาน
3. ให้ความยืดหยุ่นในการทำงานของพนักงาน
4. ใช้พื้นที่ขององค์กรได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
5. สร้างความพึงพอใจในสถานที่ทำงานของพนักงาน
โดยสรุปแล้วการออกแบบพื้นที่การทำงานที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ในองค์กรนั้น จะต้องคำนึงถึงการทำงานของพนักงานที่มีลักษณะที่แตกตต่างไปแต่ละคนล้วนถูกผนวกเข้ากับพฤติกรรม และเทรนด์การทำงานแบบใหม่มากขึ้น โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์จนสร้างรูปแบบการจัดการพื้นที่สำหรับการทำงานที่เหมาะสม ตอบรับพฤติกรรมการทำงานยุคใหม่ที่เปลี่ยนไป เพื่อสร้างประสิทธิภาพการทำงานที่ดีมากขึ้น
KOKUYO โซลูชั่นใหม่ของเฟอร์นิเจอร์สำหรับออฟฟิศที่จะช่วยดูแลคุณในด้านของสุขภาพ ด้วยเฟอร์นิเจอร์ที่ทำการออกแบบมาได้อย่างถูกต้องตามหลักสรีระ ไม่ว่าจะเป็นการนั่งหรือยืน เพื่อประสิทธิภาพการทำงานและความสุขที่เพิ่มขึ้น